วันฮาโลวีน

วันฮาโลวีน 31 ตุลาคม

วันฮาโลวีน วันปล่อยผี ฮาโลวีน (สะกดได้อีกแบบหนึ่งคือ ฮันโลวีน, ฮัลโลวีน, ฮาโลวีน) เป็นวันหยุดประจำปีซึ่งฉลองในวันที่ 31 ตุลาคม สัญลักษณ์วันฮาโลวีนคือ หัวฟักทองเจาะตา เจาะปาก ที่จะดูว่าน่ารักก็ได้ ดูน่ากลัวก็ไม่ใช่น้อย แต่ใครเลยจะรู้ว่าในความเป็นจริง วันฮาโลวีนนั้น เป็นวันที่มีความหมายทางศาสนามากพอกับวันคริสต์มาสเลยทีเดียว

ในวันดังกล่าวมักมีการจัดตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า โดยใช้ฟักทองที่คว้านเป็นรูปผี หรือใช้วัสดุอื่น ๆ ประดิษฐ์เป็นตัวผีหรือทำให้มีหน้าตาเป็นผีเพื่อสร้างบรรยากาศให้กลายเป็นงานรื่นเริง วันฮาโลวันมีที่มาอย่างไร และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้นในเรื่องนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ “ฮาโลวีน” ไว้ดังนี้

ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Evs ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำ Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)

คำ Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)

การสมโภชนักบุญทั้งหลายเริ่มโดยสันตะปาปาโบนีเฟสที่ 4 (Boniface IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๖๐๘–๖๑๕) โดยกำหนดวันที่ ๑๓ พฤษภาคมของทุกปี ตั้งแต่ ค.ศ. ๖๑๓ เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากเป็นวันเปิดโบสถ์แพนทีอัน (Pantheon) อันเป็นโบสถ์สรรพเทพของชาวโรมันมาแต่เดิม และจักรพรรดิโฟกัส (Phocas) ยกให้เป็นของคริสต์ศาสนา ต่อมา สันตะปาปากรีโกรีที่ ๔ (Gregory IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๘๒๗–๘๔๔) เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ พฤศจิกายน ตั้งแต่ ค.ศ. ๘๓๕ เป็นต้นมา
ชาวคาทอลิกขณะนั้นถือว่าวันฮาโลวีนมีความสำคัญคู่เคียงกันกับวันคริสต์มาสและวันอีสเตอร์จึงเริ่มงานตั้งแต่วันก่อนหรือวันสุกดิบ ขณะนั้นเกาะอังกฤษยังรับอำนาจของสันตะปาปาอยู่ ชาวอังกฤษจึงรับนโยบายของสันตะปาปาไปปฏิบัติตาม

ประวัติวันฮาโลวีน

วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป

กำเนิดของชื่อฮาโลวีน

คำว่า ฮาโลวีน (Halloween) เดิมทีนั้นสะกดเป็น ฮันโลวีน, ฮัลโลวีน, ฮาโลวีน เป็นคำย่อของคำว่า Hallows’ (ฮอลโลว, ฮาโลว) Even (อีเว้น) และคำว่า e’en ก็เป็นคำย่อของคำว่า even ซึ่งย่อมาจากคำว่า “evening (ค่ำ) ซึ่งเป็นคำที่มีรากคำมาจากภาษาอังกฤษโบราณ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อ “วันอีฟ ออฟ ออลเซ็นต์” ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน

ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองของพวกนอกรีต ที่สันตะปาปา เกรกอรี่ที่สาม (731–741) และเกรกอรี่ที่สี่ (827–844) พยายามจะให้แทนที่เป็นงานฉลองวันหยุดของชาวคริสเตียน (วันออลเซ็นต์) โดยการย้ายจากวันที่ 13 พฤษภาคม เป็น 1 พฤศจิกายน

ในช่วงศตวรรษที่ 800 โบสถ์ต่าง ๆ ถือเอาวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งถือตามปฏิทินฟรอเรนไทน์ ซึ่งแม้ว่า วันออลเซ็นต์ในปัจจุบัน ให้นับเป็นวันที่ถัดจากวันฮาโลวีน 1 วันแล้วก็ตาม แต่การจัดงานฉลองและกิจกรรมต่าง ๆ ของทั้งสองวันนั้น จะทำกันในวันเดียวกัน

ประเพณีวันฮาโลวีน

วันฮาโลวีนอังกฤษ
ที่ประเทศนี้ถือว่าวันฮาโลวีนนี้เป็นวันดี เหมาะสำหรับจัดงานแต่งงาน การทำนายโชคชะตา หรือแม้แต่เรื่องความตายยังถือว่า วันนี้เป็นเพียงวันเดียวที่ภูติผีวิญญาณจะช่วยดลบันดาลให้สิ่งที่คนเป็นต้องการสามารถเป็นไปตามใจปรารถนา ประมาณเที่ยงคืนของวันฮาโลวีนสาวอังกฤษจะออกมาหว่าน และไถกลบเมล็ดป่าน พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน และท่องคาถาร้องขอให้มองเห็นภาพของว่าที่คู่ชีวิตของตนในอนาคต เมื่อสาวเจ้าเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายก็จะได้เห็นภาพนิมิตของผู้ที่จะมาเป็นสามีของตนในอนาคต

อีกประเพณีหนึ่งของชาวอังกฤษ คือ การหย่อนเหรียญ 6 เพนนีลงในอ่างน้ำ พร้อมแอปเปิ้ล ผู้ใดสามารถแยกแยะของสองสิ่งนี้ออกจากกันได้โดย ใช้ปากคาบเหรียญ และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิ้ลให้ติดได้ในครั้งเดียว ผู้นั้นจะมีโชคดีตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาเยือน

วันฮาโลวีนอเมริกา
ประเพณีวันฮาโลวีนของประเทศมหาอำนาจนี้ดูจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว่าประเพณีของชาวอังกฤษ นั่นก็คือ ประเพณี Trick or Treat ที่จะให้เด็กๆ แต่งหน้า แต่งตัวเป็นผีเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อร้องขอขนมเค้กสำหรับวิญญาณ (Soul cake) พร้อมกับส่งเสียงทักทายว่า “Trick or Treat” หากเจ้าของบ้านตอบว่า Trick จะถูกเด็กๆ แกล้ง แต่ถ้าตอบว่า Treat เจ้าของบ้านหลังนั้นก็ต้องนำขนมเค้กมาให้พวกเด็กจนกว่าเขาจะพอใจ

เด็กที่แต่งตัวเป็นภูติผีวิญญาณเปรียบเหมือนสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างคนเป็นและคนตาย โดยเจ้าของบ้านที่ให้ขนมแก่เด็กๆ สามารถฝากคำอธิษฐานไปถึงคนตายได้ด้วย ดังนั้น ยิ่งเด็กๆ ขอขนมได้มากเท่าใด วิญญาณที่ยังเวียนวนอยู่ในรกก็จะยิ่งได้รับส่วนบุญ และมีโอกาสขึ้นสวรรค์มากยิ่งขึ้นด้วย

โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์นบางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา “คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง” เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน ‘All Souls’ พวกเขาจะเดินร้องขอ ‘ขนมสำหรับวิญญาณ’ (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น

การเล่น trick or treat ตามบ้านคนส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ ‘ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก’ แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง ‘การหยุดยั้งความชั่ว’ Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้

ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า “Trick or treat?” เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด

ทำไมสัญลักษณ์ของวันฮัลโลวีน ถึงเป็นหัวฟักทองแกะสลักสีส้ม

เจ้าฟักทองนั้นมีชื่อว่า Jack O Lanterns เป็นตำนานของชาวไอริช ที่เป็นนักมายากลขี้เมาและได้ทำข้อตกลงกับปีศาจตนหนึ่ง ในกรณีที่เขาเสียชีวิตแล้ว เขาขอเพียงแค่ไม่ไปทั้งสวรรค์หรือนรก เมื่อถึงคราวชีพจรดับปีศาจตนนั้นจึงมอบถ่านอันคุกรุ่นให้แก่ Jack เขาจึงนำไปใส่ไว้ในหัวผักกาดเพื่อคอยปัดเป่าความหนาวเย็น ต่อมาชาวไอรีชจึงแกะหัวผักกาด และนำถ่านมาใส่เช่นกันเพื่อเป็นสิริมงคลในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตลอดทั้งปี

เมื่อกาลเวลาผ่านไปประเพณีดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปสู่ประเทศอเมริกา แต่หัวผักกาดเป็นสิ่งที่หายาก จึงนำลูกฟักทองมาแกะสลักแทน และนี่คือจุดเริ่มต้นของสัญลักษณ์สีส้ม และสีดำ

ทั้งนี้ สีดำบ่งบอกถึงความมืดมิดช่วงเวลากลางคืน ส่วนสีส้มคือแสงสว่างที่ลุกโชติ เพื่อขับไล่ปีศาจนั่นเอง

อาหารวันฮาโลวีน

– อมยิ้มแอปเปิล

เนื่องจากเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวแอปเปิล อมยิ้มแอปเปิลจึงกลายมาเป็นขนมประจำเทศกาล (รู้จักกันในชื่อของ ทอฟฟี่แอปเปิล ภายนอกอเมริกาเหนือ) อมยิ้มแอปเปิลเคลือบคาราเมล หรือลูกกวาดแอปเปิล กลายเป็นสัญลักษณ์ของ treat ในเทศกาลฮาโลวีน ซึ่งมีวิธีทำ คือ กลิ้งลูกแอปเปิลบนน้ำเชื่อม บางครั้งก็มีการเพิ่มถั่วเข้าไปด้วย

อีกหนึ่งอาหารของชาวไอริชที่ยังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ เค้กลูกเกด เป็นเค้กผลไม้แบบเบาๆ ซึ่งจะสอดไส้ แหวน เหรียญ หรือสิ่งต่างๆเข้าไปก่อนอบ และหากใครกินเข้าไปแล้วเจอแหวน ก็จะได้พบกับรักแท้ในปีต่อมา ซึ่งจะคล้ายกับประเพณี “King cake” ในเทศกาล Epiphany

อาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับวันฮาโลวีน

– น้ำผลแอปเปิล (น้ำแอปเปิลที่ไม่ผ่านการกรอง)Apple cider (unfiltered apple juice)

– เค้กลูกเกด (ไอร์แลนด์) Barmbrack (Ireland)

– ลูกอมบอนไฟร์ (อังกฤษ)Bonfire toffee (Britain)

– ลูกอมข้าวโพด (อเมริกาเหนือ) Candy corn (North America)

– ข้าวโพดคาราเมล Caramel corn

– คอนแคนนอน (ไอร์แลนด์) Colcannon (Ireland)

– ฟักทอง พายฟักทอง ขนมปังฟักทอง Pumpkin, pumpkin pie, pumpkin bread

– เมล็ดฟักทองคั่ว Roasted pumpkin seeds

– ข้าวโพดคั่วรสหวานRoasted sweet corn

– เค้กโซลSoul cakes

– ลูกอมแปลกๆ ที่มีรูปร่างเหมือนโครงกระดูก ฟักทอง ค้างคาว หนอน เป็นต้น Novelty candy shaped like skulls, pumpkins, bats, worms, etc.